What We Read: เกรียงไกร พรพิพัฒน์กุล

Kriengkrai
ซีรี่ย์ What We Read (ซึ่งเป็นไอเดียที่เป็นที่มาของบลอก What We Read นี้) ต้องการจะนำเสนอการอ่านของผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและอาจทำให้นักอ่านได้รู้จักหนังสือที่น่าสนใจมากขึ้นครับ

ชื่อ-นามสกุล : เกรียงไกร พรพิพัฒน์กุล

อาชีพ : นักข่าวต่างประเทศ (จีน) ASTV ผู้จัดการ

คุณจัดสรรเวลาสำหรับการอ่านอย่างไร?
เวลาอ่านหนังสือของผมก็จะมีทั้งแบบไปยืนอ่านในร้านเลย (^^) mindmap เอา ระหว่างรอรับลูก และแบบสอง ด้วยความที่หนังสือส่วนใหญ่ที่ซื้ออ่านจะเป็นหนังสือความรู้ มากกว่า บันเทิง มันเลยไม่ต้องอ่านต่อเนื่องรวดเดียว ถึงอ่านรวดเดียว ก็จำไม่ได้อยู่ดี (หงึก) บางเล่มพิเศษนี่ อ่านกันเป็นปี เช่น The Monocle Guide to Better Living ฯลฯ … ส่วนถ้าเป็นหนังสือที่อ่านรวดเดียวจบก็มีครับ คือแบบตีตั๋วดูหนังเลยนะ คืนวันเสาร์จัดไป นั่งเก้าอี้เอน น้ำ ขนมพร้อม ๓ ชั่วโมง อิ่มเลย เช่น ลำนำกระเทียม (มั่วเหยียน)

ตอนนี้คุณกำลังอ่านหนังสือเล่มไหน? เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
Ernest Hemingway Selected Letters ๑๙๑๗-๑๙๖๑

หนังสือเล่มนี้ กำลังอ่าน (เรื่อยๆ มาสิบกว่าปีแล้ว) ซื้อจากแผงหนังสือมือสองมาเกือบ ๒ ทศวรรษแล้ว ตอนนั้นซื้อเพราะอยากฝึกเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ ไม่ได้จะวรรณกรรมกับเค้าเลย (ประมาณลงคอร์สเขียนจดหมายกับนักเขียนโนเบลมากกว่า) แต่พออ่านๆ ไป … ก็ติดเลย! ‘รวมจดหมายของเฮมิงเวย์’ นักข่าว นักประพันธ์นวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกัน นี้ เป็นการรวมจดหมายที่เขาเขียนถึงคนนั้นคนนี้ เกือบ ๖๐๐ ฉบับ ตลอดช่วงชีวิตการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิตของเขา (ประมาณอายุ ๑๗ จนกระทั่งเสียชีวิตวัย ๖๑ ปี) คือตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนก้าวสู่สุดยอด แล้วก็โรยลาลับไป

hemingway
หนังสือที่คุณอ่านจบเล่มล่าสุดคือเล่มไหน? เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
เต๋าเต็กเก็ง
(เต๋าเต๋อจิง, Tao Te Ching, 道德經) เป็นหนังสือเล่มล่าสุดที่อ่าน (จริงๆ ล่าสุด เพราะเป็นหนังสือที่อ่านประจำมากกว่า ๓ – ๔ วัน อ่านทีนึง บทจะสั้นๆ อ่านแค่ย่อหน้าเดียวยังไหว และก็พอจะตีความคิดเอง (เออเอง) ไปได้เรื่อยๆ… อย่างตอนที่ สารคดี “Finding Vivian Maier: คลี่ปริศนาภาพถ่ายวิเวียน ไมเออร์” ฉายในไทย! ทำให้รู้จัก งานถ่ายภาพแนวสตรีทยุคทศวรรษ ๕๐ – ๖๐ ระดับยอดฝีมือของวิเวียน ไมเออร์ สตรีโนเนมฯ ที่ตลอดชีวิตเธอยึดอาชีพเป็นพี่เลี้ยงเด็ก และไม่ยอมให้ใครได้เห็นรูปที่เธอถ่าย จนกระทั่งจากโลกนี้ไป จึงค่อยมีผู้ประมูลกล่องเก็บภาพที่เธอทิ้งไว้ มาเผยแพร่ในภายหลัง

เรื่องนี้ผมนี่คิดถึงเต๋า ในเรื่อง โนเนมฯ เลย – ในโลกมีอะไรอีกมากมายที่ยังไม่ถูกพบเจอ หรือบัญญัติชื่อ ยังมีผู้รู้มากมาย ที่ไม่เคยสอนฯ มีนักเขียนยิ่งใหญ่ที่ไม่พิมพ์หนังสือสักเล่ม วิเวียน ผู้เก็บภาพถ่ายฯ ไว้เพียงในลิ้นชัก ก็เหมือนกัน … ‘เต๋า ที่มีชื่อที่เรียกขานได้ ยังมิใช่ชื่ออันยั่งยืน … เพราะ “ไร้ชื่อ” จึงเป็นต้นกำเนิดแห่งฟ้าดิน … ประโยคนี้ ทำผมคิดนานเลยเนี่ย

(ปล. เต๋าเต็กเก็ง เป็นคัมภีร์ที่เล่าจื๊อแต่งขึ้นเมื่อประมาณ ๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติและปรัชญาในเรื่องโลกและชีวิต)

tao
หนังสือที่คุณตั้งใจจะอ่านเป็นเล่มต่อไป? เพราะอะไร
ปฏิจจสมุปบาทกับอานาปานสติ
(พุทธทาสภิกขุ)

เช่นกัน…ด้วยรู้สึกตัวเองว่า ตั้งแต่จำความได้ (น่าจะตั้งแต่อายุ ๑๑ ขวบเป็นต้นมา) เราไม่เคยมีชีวิตแบบ ‘อยู่ ณ ตรงนั้น เวลานั้น’ เลย คือ พอเลยอายุวัยเด็กมานี่ ก็จะเป็นชีวิตแบบจริงมั่ง คิดมั่ง ฝันมั่ง อุปาทานมั่ง แถมยังไม่รู้ตัว ไม่รู้ทันกระแสวงจรเกิด-ดับ ครั้งแล้วครั้งเล่า ของความคิดที่กระพริบอยู่ในหัวตลอดเวลา (ไม่ความคิดที่หนึ่ง ก็ความคิดที่ ๒-๓-๔) ว่ากันที่จริง คือไม่เคยสัมผัสชีวิตตรงๆ ณ ตรงนั้นๆ แบบไร้ปรุงแต่งเจือปนอย่างเด็กเล็กๆ อีกเลย

จริงๆ ไม่กล้าคุยเรื่องธรรมะ ตามความเข้าใจน้อยนิดของผม ‘ปฏิจจสมุปบาท’ อธิบายถึงปฏิกริยาลูกโซ่พฤติแห่งความคิด ที่เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ อาศัยเป็นปัจจัยส่งต่อกันจนครบวงจรสารพัดแห่งเครียด คร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัสบนกองสมมติเสมือนจริง HD ถ้าเราหยุดปฏิกริยาลูกโซ่นี้ไม่ได้ เราก็ไม่เคยสัมผัส มีหรือเห็นชีวิตตามความเป็นจริงเลย (มีเห็นชีวิตตามความคิดไปอย่างเดียว)

ส่วน ‘อานาปานสติ’ คืออุปกรณ์เบรคสำคัญ สามารถฝึกเพื่อหยุดวงล้อปฏิจจสมุปบาท ที่หมุนเร็วรอบจัด ก่อนที่มันจะครบวงจรกลายเป็นตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ …

dhamma
หนังสือเล่มไหนที่คุณอ่านจบแล้วและอยากแนะนำให้คนอื่นได้อ่าน พร้อมเหตุผล
อาจจะเฉพาะตัว และฮาวทูไปหน่อยครับ ที่จะแนะนำใคร (นอกจากลูกเรา) The Greatest Secret in the World, Og Mandino (ภิรมย์ พุทธรัตน์ แปล, เล่มนี้ซื้อเมื่อปี ๒๕๒๕ เพิ่งจะหยิบเสนอขายกับลูกที่กำลังวัยรุ่น เหตุผลคือ … ตอนเราวัยรุ่น (๓๐ ฝ่าปีก่อน) รู้ตัวเลยต้องเผชิญหน้ากับความคิด ความรู้สึกของตัวเองอย่างไร้ประสบการณ์ … ‘ความรู้สึก นึกคิด’ มันแรงงส์ พอที่ทำให้คนดีๆ ก็บ้าได้ … ทำร้ายตัวเองก็ได้ ทำร้ายคนอื่นก็ได้ … หนังสือเล่มนี้ มาในเวลาที่เรา เด็ก ๑๕ ขวบ กำลังต้องการพอดี

๑๐ บท ในเล่มนี้ จัดกระบวนความคิดบางอย่างในเวลาที่สำคัญที่สุดของผม ไม่ว่าจะเป็น ‘ชะตากรรมของคนมาจากนิสัย / ความรักความจริงใจ มีอานุภาพ / อุตสาหะคือหยาดฝนทำลายขุนเขา /เราไม่ได้เกิดมาโดยบังเอิญ / ใช้ชีวิตราววันสุดท้าย / เท่าทันวัฎฎะของอารมณ์ / หัวเราะคือ คุณสมบัติพิเศษของมนุษย์ / น้อมระลึกถึงพลังสรรพสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา ฯลฯ

thegreatestsecret

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s