นิตยสารคู่สร้างคู่สม

นิตยสารคู่สร้างคู่สม ของคุณดำรง พุฒตาล ออกวางจำหน่ายฉบับแรกในปี ๒๕๒๓ โดยเป็นการต่อยอดมาจากรายการโทรทัศน์และวิทยุในชื่อเดียวกัน เนื้อหาข้างในเล่มจะเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่งมาและบทความจากนักเขียนประจำ รวมทั้งจากการจัดทำของทีมงานกองบรรณาธิการ

คอลัมน์ในฉบับล้วนได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็น หนุ่มจีบสาว สาวจีบหนุ่ม ผัวเมียละเหี่ยใจ รวมไปถึงคอลัมน์ดูดวง

ปัจจุบันคู่สร้างคู่สมออกวางจำหน่ายในรายสิบวัน (จากเดิมที่เป็นรายสัปดาห์) ช่องทางจำหน่ายที่สำคัญของคู่สร้างคู่สมคือ แผงหนังสือต่าง ๆ ปัจจุบันได้ลดจำนวนลงอย่างมาก และล่าสุดร้านสะดวกซื้อ 7-11 ได้ปรับนโยบายลดการจำหน่ายหนังสือและนิตยสารลง ทำให้คู่สร้างคู่สมได้รับผลกระทบในส่วนนี้ด้วย

ท่ามกลางกระแสขาลงของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสารทยอยปิดตัวกันไปทีละฉบับและหลายฉบับที่ปิดไปอยู่มายาวนานหลายสิบปี เมื่อหลายเดือนก่อนคุณดำรงไปเป็นวิทยากรบรรยายที่กระทรวงต่างประเทศ ในหัวข้อสถานการณ์สื่อ คุณดำรงยังคงยืนยันว่า นิตยสารคู่สร้างคู่สมยังอยู่ได้…

๑๗ องศาเหนือ


อ่านเรื่องราวของจ่าตุ้ย พันเข็ม ใน “๑๗ องศาเหนือ” ก่อนจะต่อด้วยวีรกรรมของย้อย กฤษดาวินิจ ใน “๑๖ องศาเหนือ”

นิตยสาร Monocle ฉบับที่ ๑๐๑ ฉบับพิเศษฉลองครบรอบ ๑๐ ปี

Monocle issue 101, the 10th anniversary issue with an article about Thai businesses buying western companies and brands with 3 companies featured.

จากประสบการณ์ส่วนตัว จะทำนิตยสารให้ยืนระยะถึงสิบปีได้นี่ไม่ใช่ง่าย ยิ่งในยุค Winter is coming รัว ๆ อย่างทุกวันนี้ด้วยแล้วไม่ง่ายเลย แต่ Monocle ทำได้ แถมแตกไลน์ขยายอาณาจักรออกไปได้อีก กลายเป็น case study ของคนในวงการสิ่งพิมพ์ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงแทบทั้งโลก

เล่มนี้เป็นเล่มฉลองวาระพิเศษ ก็เลยมีเนื้อหาพิเศษแทรกมาให้อ่าน เป็นเรื่องราวของ Monocle ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ใครที่เป็นแฟนไม่อยากให้พลาด

แถมอีกนิด เล่มนี้มีบทความเกี่ยวกับธุรกิจไทยที่ไปซื้อกิจการต่างแดนให้อ่านกันด้วย เจาะไปหลัก ๆ ที่สามบริษัท เป็นใครกันบ้าง อันนี้ต้องลองเปิดดู…

เตรียมพบกับ Creativity Inc. ฉบับภาษาไทย (เดานะ)

Creativity, Inc.

คิดว่าอีกไม่นานจะมีหนังสือ Creativity Inc. ที่เขียนโดย Ed Catmull (หน้าตาตามภาพประกอบนะฮะ) ฉบับแปลภาษาไทยออกมาให้ได้อ่านกัน

ที่เดาอย่างนี้เพราะเมื่อกี๊นั่งอยู่ที่ร้านกาแฟที่นึง เห็นหญิงสาวพร้อมปากกาในมือกำลังนั่งเปิดหนังสือเล่มนี้ฉบับ hardcover พลิกไปพลิกมาเทียบกับกระดาษ A4 หนาเป็นปึกที่วางอยู่ตรงหน้า หน้าตานี่เอาจริงเอาจังมาก

อาการนี้บอกได้เลยว่า ถ้าไม่ใช่กำลังแปล ก็คงกำลัง edit อยู่ ไม่รู้ว่าสำนักพิมพ์ไหนซื้อลิขสิทธิ์มา ใครที่รออ่านเล่มนี้อยู่อดใจรอสักพักนะฮะ…

หมายเหตุ รูปประกอบนี่เป็นหนังสือของผมเองนะ ไม่ใช่ของหญิงสาวคนที่กล่าวถึง ขออภัยที่ไม่มีภาพประกอบ ไม่กล้าถ่าย กลัวโดนหาว่าโรคจิต หน้ายิ่งให้อยู่ 5555

อ่านเล่มไหนดี?

What should I read next?ปกติแล้วหลังจากอ่านหนังสือจบ พอจะหยิบเล่มใหม่มาอ่านถ้าไม่ใช่เล่มต่อจากเล่มก่อนหน้าผมจะเกิดอาการ “เลือกไม่ถูก” ไม่รู้จะหยิบเล่มไหนมาอ่านดี

อาการที่เป็นก็คือ จะหยิบเล่มที่คิดว่าน่าสนใจมาพลิก ๆ ดู แล้ววาง แล้วหยิบเล่มอื่นมาพลิกดู แล้ววาง เป็นอย่างนี้วนลูปไปซักพัก จนตัดสินใจได้ว่า เอาเล่มนี้ล่ะวะ ก็จะหยิบมานั่งอ่านเป็นเรื่องเป็นราว แต่ในช่วงที่เริ่มอ่านถ้าหากสะดุด หรือเกิดอาการ เอ๊ะ ขึ้นมา ก็อาจกลับไปวนลูปที่ว่ามาได้อีก จนกว่าจะได้เล่มที่จะอ่านจริง ๆ ก็จะอ่านไปจนจบ

อาการที่เป็นแบบนี้ทำให้เสียเวลาไปไม่น้อยเหมือนกัน เอาที่เห็นชัด ๆ ก็อย่างตอนนี้ที่อ่าน The Blind Side จบไปได้สักพักแล้ว (อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ) ยังเลือกไม่ได้เลยว่าจะอ่านอะไรต่อ

กองหนังสือที่เห็นในภาพเป็นเล่มที่เลือกมาเป็นเบื้องต้นแล้วแต่ยังรอตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกทีว่าจะเป็นเล่มไหน เกณฑ์อย่างนึงตอนนี้ก็คือตั้งใจว่าจะอ่านเล่มเก่า ๆ ก่อนนะฮะ

อาการนี้มีใครเป็นบ้างมั้ยครับ แล้วแก้ยังไงกัน เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ…

เยือน The Booksmith นิมมานเหมินท์

Jimmy Liao books

ผมสั่งซื้อหนังสือจาก The Booksmith มาก็ตั้งหลายที แต่ยังไม่เคยไปที่ร้านเลย หลายวันก่อนมีโอกาสไปทำกิจธุระที่เชียงใหม่แล้วพอมีเวลา ก็เลยให้เจ้าถิ่นพาไปร้านที่ถนนนิมมานเหมินท์

ไม่ได้ตั้งใจว่าจะไปซื้ออะไร แค่อยากไปเยือนเฉย ๆ สุดท้ายได้ติดมือกลับมาสองเล่ม นี่เหมือนชะตาต้องกัน เพราะสองเล่มนี่กรุงเทพฯ ก็มีขายเยอะอยู่แต่ไม่ซื้อ ถ่อไปซื้อถึงเชียงใหม่นะครับ ❤

Jimmy Liao books

Jimmy Liao books

หนังสือดัง & ขายดีที่คนอ่านไม่จบ

เคยมั้ยครับเวลาที่ยืนเลือกหนังสืออยู่ในร้าน พลิก ๆ ดูแล้ว เออ เล่มนี้น่าสนใจว่ะ น่าอ่านดีนะ แต่พอซื้อไปแล้ว เปิดอ่านไปได้สักหน่อยแล้ววาง อ่านไม่จบ เปลี่ยนไปอ่านเล่มอื่น จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ เขียนไม่ดี อ่านยาก เนื้อหาไม่น่าสนใจ อ่านแล้วไม่ชอบ ฯลฯ มีเหตุผลสารพัดนะครับ 

ผมนี่คนนึงล่ะ

ก่อนหน้านี้เราก็ไม่รู้ใช่มั้ยครับว่า มีใครเป็นอย่างเราบ้างมั้ย คนเขียนก็ไม่รู้ สำนักพิมพ์ก็ไม่รู้ แล้วถ้ามี จะมีหนังสือเล่มไหนที่คนซื้อไปแล้วอ่านไม่จบกันมั่งวะ?

ตอนนี้เรารู้ได้แล้วครับ ตั้งแต่ที่มีเรามีอีบุ๊ก โดยเฉพาะ Kindle ของ amazon ที่สามารถเก็บข้อมูลการอ่านพวกนี้ได้ แล้วก็มีนักวิชาการที่ไปเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Kindle ที่ว่านี่แหละมารวบรวมวิเคราะห์และแยกแยะแล้วตั้งเป็นดัชนีที่ชื่อว่า Hawking Index เพื่อดูว่าหนังสือแต่ละเล่มมีคนอ่านจนจบมากน้อยแค่ไหน

หนังสือบางเล่มที่อยู่ในรายการนี้เห็นแล้วอาจแปลกใจว่าคนอ่านจบน้อยขนาดนั้นเลยเหรอ มาดูกัน

เล่มแรก Hard Choices ของ Hilary Clinton ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จจะสร้างประวัติศาสตร์เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ ด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกความทรงจำในช่วงที่ฮิลารีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามในรัฐบาล รองจากประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ เล่มนี้มีคนอ่านจบแค่ ๑.๙% เท่านั้นเอง

เล่มสอง Capital in the Twenty-First Century ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Thomas Piketty เล่มนี้สร้างปรากฎการณ์ฮือฮาอย่างมากในแวดวงหนังสือ เพราะเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์ที่เป็นแนววิชาการ อ่านยาก แถมยังหน้าตั้ง ๗๐๐ หน้า แต่ติดอันดับหนึ่งหนังสือขายดีของ The New York Times ซะงั้น ทำเอาผู้เชี่ยวชาญต้องหาสาเหตุกันยกใหญ่ว่าทำไมหนังสือเล่มนี้ถึงฮิตขึ้นมาได้ แต่ก็นั่นแหละมีคนอ่านจบไปแค่ ๒.๔% ครับ

เล่มต่อมา Infinite Jest โดย David Foster Wallace มีคนอ่านจบไป ๖.๔%

อันดับสี่ เล่มนี้เลยครับ A Brief History of Time ของ Stephen Hawking ที่มีคนรู้จักกันทั่วโลก ยิ่งปีก่อนมีการเอาชีวิตเฮียมาสร้างเป็นหนังด้วย ยิ่งทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นอีก หนังสือเล่มนี้อ่านจบกันไป ๖.๖% ครับ

เล่มที่ห้า Thinking, Fast and Slow ของ Daniel Kahneman เล่มนี้มีคนอ่านจบไปเบ็ดเสร็จ ๖.๘%

เห็นอย่างนี้ใครที่เป็นนักเขียนหรือนักแปลอย่าเพิ่งท้อนะครับ ถ้ามองในแง่ดีอย่างน้อยคนก็ซื้อไปแล้ว วันนี้อาจจะยังไม่อ่าน หรืออ่านไม่จบ แต่วันหน้าอาจจะหยิบมาอ่านจนจบก็ได้ อาการแบบนี้ผมเองก็เป็นบ่อยไป

ขอให้มีความสุขกับการอ่านนะครับ ❤

 

ลายเซ็นนักเขียน : ชาติ กอบจิตติ

ชาติ กอบจิตติ

เมื่อซักประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ร้านนายอินทร์ สาขาท่าพระจันทร์ จัดกิจกรรมทุกช่วงบ่ายของวันศุกร์สุดท้ายของเดือน ด้วยการเชิญนักเขียนมาสนทนาที่บริเวณชั้นสองของร้านแล้วเปิดให้นักอ่านหรือผู้สนใจเข้าฟังได้ฟรี

กิจกรรมนี้จัดอยู่นานแค่ไหนผมจำไม่ได้แล้ว แต่จำได้แม่นว่าไปร่วมฟังอยู่สองครั้ง คือ ตอนที่คุณวาณิช จรุงกิจอนันต์ และคุณชาติ กอบจิตติ มา

ที่ไปฟังพี่ชาติวันนั้นนอกจากจะด้วยชอบงานของพี่เค้าแล้ว (พันธุ์หมาบ้านี่คนที่อ่านแล้วไม่โดนคงมีน้อยนะ) ยังอยากไปเจอและไปฟังตัวเป็น ๆ ของนักเขียนที่ได้ยินกิตติศัพท์ร่ำลือมานานว่าเป็นคนขี้อำ ซึ่งสิ่งที่ได้ยินวันนั้นไม่ผิดไปจากที่ได้ยินมาเลย

สิ่งสำคัญที่เก็บมาจากการไปฟังพี่ชาติวันนั้นและยังจำได้มาถึงวันนี้มีสองเรื่อง เรื่องแรก พี่ชาติให้คำแนะนำกับคนเขียน (หรืออยากเขียน) หนังสือว่า เวลาอ่านหนังสือแกจะอ่านสองรอบ รอบแรกเป็นการอ่านเรื่องราวของหนังสือ แบบที่คนอ่านหนังสือตามปกติ เมื่ออ่านรอบแรกจบแล้วก็กลับมาอ่านรอบสอง แต่รอบนี้ไม่ใช่การอ่านเอาเรื่อง (เพราะรู้เรื่องจากรอบแรกไปแล้ว) แต่เป็นการอ่านเพื่อศึกษาว่า คนเขียนเล่าเรื่องอย่างไร ทำไมตรงนั้นถึงเล่าแบบนั้น หรือสถานการณ์ที่เกิดตรงนี้มันมีการปูเรื่องมาก่อนจากตรงนั้น ฯลฯ เป็นการอ่านเพื่อศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้

เรื่องที่สอง พี่ชาติบอกว่า คนเป็น (หรืออยากเป็น) นักเขียน ต้องฝึกเขียนอยู่เสมอ และการฝึกนี้ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียนออกมาจริง ๆ ก็ได้ สามารถฝึกเขียนในใจได้ ยกตัวอย่างเวลานั่งรถไปไหนมาไหนก็อย่ามัวแต่นั่งเหม่อฝันหวานอะไรอย่างเดียว (ถ้าเป็นสมัยนี้พี่ชาติคงบอกว่า อย่ามัวแต่นั่งก้มหน้าเล่นโทรศัพท์นะพวกมึง) ให้ลองสังเกตสถานที่หรือเหตุการณ์อะไรที่ผ่านตาแล้วลองคิดว่า ถ้าจะต้องเขียนบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือจะเล่ายังไง

พี่ชาติบอกว่า แกใช้วิธีนี้ในการฝึกและเขียนหนังสือของตัวเอง เวลาเขียนหนังสือแกจะคิดจนเสร็จเรียบร้อยอยู่ในหัวแล้วว่าเหตุการณ์จะเป็นยังไง จะเล่ายังไง คิดจนจบแล้วถึงค่อยลงมือเขียนออกมา ตรงนี้แกบอกว่า การคิดเอาไว้แบบนี้มันทำให้พลังมันอัดอยู่ในตัว พอนั่งเขียนจริงก็จะเป็นเหมือนการปล่อยพลังในตัวออกมาทีเดียวแล้วเรื่องจะได้มีพลัง แต่ถ้านั่งเขียนไปเรื่อย ๆ มันจะไม่ค่อยมีพลังเท่าไหร่

หลังจากสนทนาและตอบคำถามแฟน ๆ ที่มานั่งฟังกันเรียบร้อย (วันนั้นพี่ชาติคงจะไปไหนต่อ เพราะยังไม่กินเหล้า 5555) ก็เปิดให้ขอลายเซ็นกันได้ ถึงช่วงนี้เราก็ ชิบหาย อยากได้ลายเซ็นพี่ชาติ (ไม่เคยขอลายเซ็นใครมาก่อนเลย) แต่ไม่ได้เอาหนังสือติดมาด้วย เอาไงดีวะ เดินลงไปชั้นล่างที่วางหนังสือพี่ชาติอยู่ เลือกมาเล่มนึงซึ่งก็คือ เรื่องธรรมดา ตามภาพด้านบน แล้วเดินถือกลับขึ้นไปให้พี่ชาติเซ็น เป็นการขอลายเซ็นคนดังครั้งแรกในชีวิต

ชาติ กอบจิตติ : เรื่องธรรมดานี่เป็นลายเซ็นพี่ชาติเมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว

ตัดฉับมาปีนี้ ผมมีโอกาสได้ลายเซ็นพี่ชาติอีกครั้ง ในหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด facebook : โลกอันซ้อนกันอยู่ อันเนื่องมาจากที่พี่ชาติมีโปรเจ็กต์เปิด facebook เพื่อจะทำหนังสือ โดยเล่าเรื่องราวสารพัด (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่) แล้วผมเข้าไปคอมเม้นต์ในบางประเด็น แล้วเกิดได้รับคัดเลือกให้เข้าไปอยู่ในหนังสือเล่มนี้ด้วย พี่ชาติก็เลยมอบหนังสือเล่มนี้ให้พร้อมด้วยลายเซ็น (ไม่ได้มีผมคนเดียวนะ มีคนอื่นด้วย) อย่างที่เห็นนั่นล่ะฮะ

ชาติ กอบจิตติ : facebook : โลกอันซ้อนกันอยู่ผลงานล่าสุดของพี่ชาติ

ชาติ กอบจิตติ : facebook : โลกอันซ้อนกันอยู่

หมายเหตุ : ๒๐ ปีผ่านไป ลายเซ็นพี่ชาติก็เปลี่ยนไป หวังว่าคงไม่ใช่เพราะไปดูหมอมานะพี่นะ 5555 (ขออนุญาตแซวนิดนึงนะครับพี่)

หนังสือ “ต้องอ่าน” ของ Richard Branson

Richard Branson of Virgin Group
ภาพจาก virgin.com

เมื่อหลายวันก่อน คุณพี่ Richard Branson มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้ง Virgin Group ออกมาโพสต์รายชื่อหนังสือ ๖๕ เล่มที่ไม่ควรพลาด ในรายการนี้มีหนังสือหลากหลาย ทั้งนิยายคลาสสิก นิยายวิทยาศาสตร์ หนังสือเด็ก ชีวประวัติบุคคลสำคัญ หนังสือด้านการบริหาร ฯลฯ สารพัดมาก เอามาลงไว้เผื่อใครสนใจจะไปตามอ่านดูบ้างนะครับ

๑.            Where the Wild Things Are – Maurice Sendak

๒.            Tales of the Unexpected – Roald Dahl

๓.            George’s Marvellous Medicine – Roald Dahl

๔.            The Adventures of Huckleberry Finn – Mark Twain

๕.            Oh, The Place You’ll Go – Dr Seuss

๖.            Peter Pan – J. M. Barrie

๗.            The Jungle Book – Rudyard Kipling

๘.            The Adventures of Tom Sawyer – Mark Twain

๙.            Swallows and Amazons – Arthur Ransome

๑๐.          The Hitchhiker’s Guide To The Galaxy – Douglas Adams

๑๑.          Treasure Island – Robert Louis Stephenson

๑๒.          The Hobbit – JRR Tolkien

๑๓.          Jurassic Park – Michael Crichton

๑๔.          Twenty Thousand Leagues Under the Sea – Jules Verne

๑๕.          1984 – George Orwell

๑๖.          Great Expectations – Charles Dickens

๑๗.          The Quiet American – Graham Greene

๑๘.          The Dice Man – Luke Rhinehart

๑๙.          Shantaram – Gregory Roberts

๒๐.          One Hundred Years of Solitude – Gabriel Garcia Marquez

๒๑.          Mountains Beyond Mountains: The Quest of Dr. Paul Farmer, A Man Who Would Cure the World – Tracy Kidder

๒๒.          The Outermost House – Henry Beston

๒๓.          Wild Swans: Three Daughters of China – Jung Chang

๒๔.          Stalingrad: The Fateful Siege – Antony Beevor

๒๕.          The Right Stuff – Tom Wolfe

๒๖.          In the Heart of the Sea: The Tragedy of the Whaleship Essex – Nathaniel Philbrick

๒๗.          I Know Why the Caged Bird Sings – Maya Angelou

๒๘.          Travels with Charley – John Steinbeck

๒๙.          Long Walk to Freedom: The Autobiography of Nelson Mandela – Nelson Mandela

๓๐.          Mao: The Unknown Story – Jung Chang

๓๑.          A Full Life: Reflections at Ninety – Jimmy Carter

๓๒.          No Future Without Forgiveness – Desmond Tutu

๓๓.          Longitude: The True Story of a Lone Genius Who Solved the Greatest Scientific Problem of His Time – Dava Sobel

๓๔.          Mandela’s Way: Lessons on Life, Love, and Courage – Stengel

๓๕.          Limitless: Leadership That Endures – Ajaz Ahmed

๓๖.          Originals: How Non-Conformists Move the World – Adam Grant

๓๗.          If I Could Tell You Just One Thing: 50 of the world’s most remarkable people pass on their best piece of advice – Richard Reed

๓๘.          Remote: Office Not Required – Jason Fried

๓๙.          Start With Why – Simon Sinek

๔๐.          101 Reasons to Get Out of Bed – Natasha Milne

๔๑.          Letters to a Stranger: A publishing project in aid of MIND – Various

๔๒.          Self Belief: The Vision – Jamal Edwards

๔๓.          The Meaning of the 21st Century – James Martin

๔๔.          Happiness: A Guide to Developing Life’s Most Important Skill – Matthieu Ricard

๔๕.          A Time for New Dreams – Ben Okri

๔๖.          A Brief History of Time – Stephen Hawking

๔๗.          The Overview Effect: Space Exploration and Human Evolution – Frank White

๔๘.          Beyond The Blue – Jim Campbell

๔๙.          Abundance: The Future Is Better Than You Think – Peter Diamandis

๕๐.          Cosmos – Carl Sagan

๕๑.          The Weather Makers: How Man Is Changing the Climate and What It Means for Life on Earth – Tim Flannery

๕๒.          Big World, Small Planet – Johan Rockström and Mattias Klum

๕๓.          An Inconvenient Truth: The Planetary Emergency of Global Warming and What We Can Do About It – Al Gore

๕๔.          Necker: A Virgin Island – Russell James

๕๕.          Lost Ocean – Johanna Basford

๕๖.          Arctica: The Vanishing North – Sebastian Copeland

๕๗.          In Patagonia – Bruce Chatwin

๕๘.          Into Thin Air: A Personal Account of the Mt. Everest Disaster – Jon Krakauer

๕๙.          The World Without Us – Weisman

๖๐.          In-N-Out Burger: A Behind-the-Counter Look at the Fast-Food Chain That Breaks All the Rules – Stacy Perman

๖๑.          In Defense of Food: An Eater’s Manifesto – Michael Pollan

๖๒.          Fast Food Nation: The Dark Side of the All-American Meal – Eric Schlosser

๖๓.          Just Mercy: A Story of Justice and Redemption – Bryan Stevenson

๖๔.          Lean In – Sheryl Sandberg

๖๕.          Ending the War on Drugs – ผู้เขียนหลายคน

ใครสนใจเล่มไหนก็ลองดูนะครับ ❤

 

ติดตาม What We Read Blog ทาง facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/WhatWeReadBlog ครับ

บทสัมภาษณ์เจ้าของร้านหนังสือเดินทาง

อำนาจ รัตนมณี เจ้าของร้านหนังสือเดินทางอำนาจ รัตนมณี เจ้าของร้านหนังสือเดินทาง

 สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า สัมภาษณ์คุณอำนาจ รัตนมณี เจ้าของร้านหนังสือเดินทาง ถึงมุมมองที่มีต่อร้านหนังสืออิสระในยุคที่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์กำลังประสบปัญหา ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรงที่ไม่เพียงอยู่รอด แต่ยังสามารถยืนระยะอยู่ได้จนมีอายุ ๑๕ ปีแล้ว แม้วันนี้จะต้องย้ายจากทำเลเริ่มต้นบนถนนพระอาทิตย์มาอยู่บนถนนพระสุเมรุ แต่มิตรรักนักอ่านก็ยังติดตามมาแวะเวียนไม่ขาดสาย

บทสัมภาษณ์นี้อาจช่วยจุดประกายให้ใครที่มีฝัน สามารถเดินไปสู่ความฝันได้โดยไม่ต้องเลิกราไประหว่างทางนะครับ

http://thaipublica.org/2016/03/print-7/

ติดตาม facebook ของ What We Read Blog ได้ที่ https://www.facebook.com/whatwereadblog